รับเหมาเดินท่อดับเพลิงอาคาร ติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และทางหนีไฟ

ขายส่งอุปกรณ์ดับเพลิงภายในอาคาร ผู้นำเข้า เครื่องดับเพลิง FireAde2000 รับฝึกอบรมดับเพลิง

โทรด่วน สาขาเชียงใหม่ 081-208-8846(คุณพิษณุ), สาขาสมุทรปราการ โทร 086-921-5444(คุณดวงดาว)
บ้านและอาคารควรมีระบบป้องกันไฟอะไร และอย่างไร
บ้านและอาคารควรมีระบบป้องกันไฟอะไร และอย่างไร

 ในปัจจุบันจะเห็นบ่อยๆ ว่าเกิดเหตุไฟไหม้อาคารบ้านเรือน แม้กระทั่งโรงงานขนาดใหญ่ ก็ยังประสบกับการเกิดไฟไหม้ซึ่งหลายคนมองว่าโรงงานขนาดใหญ่น่าจะมีระบบป้องกันอัคคีไฟที่ดีเยี่ยม แต่หารู้ไม่ว่ายิ่งโรงงานนั่นแหละตัวดีที่เป็นต้นเหตุของการเกิดไฟไหม้และทำให้ชุมชนบ้านเรือนที่อยู่ใกล้เคียงได้รับความเสียหายไปด้วย นอกจากโรงงานอุตสาหกรรมแล้วบ้านเรือนชุมชนแออัดก็เกิดไฟไหม้บ่อยๆ ยิ่งภายในกรุงเทพฯและปริมณฑลจะพบเพลิงไหม้ได้บ่อยครั้งอาจจะถึงเดือนละ 2-3 ครั้งก็ว่าได้ เมื่อเทียบกับต่างจังหวัดแทบจะไม่เกิดขึ้นเลยก็ว่าได้ นอกจากในกรณีที่เป็นการวางเพลิงแม้ว่าจะมีระบบป้องกันที่ดีแค่ไหนก็ไม่สามารถป้องกันได้


               แต่กรณีที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากไม่มีระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และอุปกรณ์ป้องกันไฟ ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีกฎหมายควบคุมอาคาร และต้องติดตั้งระบบป้องกันไฟอย่างไรถึงจะผ่านการตรวจสอบ ใครที่กำลังคิดสร้างอาคาร หอพัก หรือจะสร้างบ้านของตัวเองก็ควรต้องรู้ว่า จะต้องติดตั้งระบบป้องกันไฟขั้นพื้นฐานทุกครั้งเมื่อคิดจะสร้างบ้าน
ระบบป้องกันภัยขั้นพื้นฐานควรมีอะไรบ้างสิ่งที่คุณมองข้ามอาจช่วยระงับการเกิดไฟไหม้ได้

มาดูกันว่ากฎหมายควบคุมอาคารจะเเบ่งอย่างไร และจะต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้างสำหรับอาคารที่มีลักษณะต่างกัน

1.บ้านทั่วไป ต้องมีถังดับเพลิง หรือเครื่องดับเพลิงประเภทมือถืออย่างน้อยคูหาละ 1 เครื่อง
2.บ้านสูง 2 ชั้นขึ้นไป  ต้องมีถังดับเพลิง หรือเครื่องดับเพลิงประเภทมือถืออย่าง 1 เครื่อง และต้องติดตั้งสัญญาณเตือนภัยด้วย
3.บ้านสูง 3 ชั้นขึ้นไป  ต้องมีถังดับเพลิง หรือเครื่องดับเพลิงประเภทมือถืออย่าง 1 เครื่อง ต้องติดตั้งสัญญาณเตือนภัย และต้องมีบันไดหนีไฟด้วย


อาคารทั่วไปที่มีพื้นที่กว้างเกิน 2,000 ตารางเมตร

               ต้องติดตั้งถังดับเพลิง หรือเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ 1 เครื่อง/พื้นที่ในอาคารไม่เกินกำหนด ของอาคารประเภทต่างๆ สามารถดูได้จากบทความอื่นๆ ตามประเภทของไฟ มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ชั้นละ 1 เครื่อง ทุกชั้นติดตั้งป้ายบอกชั้น และป้ายบอกทางหนีไฟในแต่ละชั้น ติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินเพื่อให้มองเห็นช่องทางหนีไฟขณะเกิดเพลิงไหม้ ต้องมีท่อระบบยืน สายส่งน้ำดับเพลิงพร้อมหัวฉีดน้ำดับเพลิง และอุปกรณ์หัวรับน้ำดับเพลิงนอกอาคาร เพื่อดับเพลิงทุกส่วนของอาคาร


อาคารสูงเกิน 23 เมตร หรือมีพื้นที่ของอาคารเกิน 10,000 ตารางเมตร

                มีถนนหรือที่ว่างไม่น้อยกว่า 6 เมตร รอบอาคารติดตั้ง ถังดับเพลิง หรือเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ 1 เครื่อง/พื้นที่ในอาคารไม่เกินกำหนด ของอาคารประเภทต่างๆ สามารถดูได้จากบทความอื่นๆ ตามประเภทของไฟ มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เช่น สปริงเกอร์ดับเพลิง (Sprinker Sytem) ครอบคลุมพื้นที่ทุกชั้น ปริมาณการติดตั้งระยะห่าง 3.0 M มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทุกชั้น มีตู้ดับเพลิง สายส่งน้ำดับเพลิง หัวฉีดน้ำดับเพลิง มาตรฐาน UL/FM มีที่เก็บน้ำสำรองเพื่อใช้ในการดับเพลิง มีหัวรับน้ำนอกอาคาร มีระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง สามารถทำงานอัตโนมัติเมื่อระบบไฟฟ้าปกติดับสำหรับลิฟต์ดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ห้องช่วยชีวิตฉุกเฉินและระบบสื่อสาร มีบันไดหนีไฟจากชั้นสูงสุดลงสู่พื้นดิน มีดาดฟ้าด้านละไม่น้อยกว่า 10 เมตร เป็นที่ว่างใช้เป็นทางหนีไฟทางอากาศ มีลิฟต์ดับเพลิงอย่างน้อย 1 ชั้นขึ้น ต้องติดตั้งบันไดหนีไฟเพิ่มจากบันไดหลักด้วย ติดตั้งแบบแปลนแผ่นผนังของอาคารในแต่ละชั้น มีถังดับเพลิง หรือเครื่องดับเพลิงให้ถูกต้องกับพื้นที่การใช้งาน มีระบบสัญญาณเตือนไฟไหม้ทุกชั้น ทั้งระบบแจ้งเหตุด้วยมือ และระบบอัตโนมัติ มีระบบไฟฟ้าส่องสว่างสำรอง หรือโคมไฟฉุกเฉิน พร้อมป้ายอบกชั้น และป้ายบอกทางหนีไฟ

               ทั้งหมดนี้เป็นกฎหมายที่ทุกคนที่จะสร้างบ้าน อาคารต่างๆ ควรต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด อาจจะเป็นการลงทุนบ้างในอุปกรณ์ดังกล่าว แต่เมื่อเทียบกับชีวิตและทรัพย์สินแล้วมีความคุ้มค่ามาก ดังคำกล่าว มีแล้วไม่ได้ใช้ ดีกว่าจะใช้แล้วมันไม่มีนะครับ
บทความนี้ได้อ่านในหนังสือ คู่มือSafetyความปลอดภัยในการทำงาน เห็นว่าดีและเกี่ยวข้องโดยตรงกับเราจึงหยิบยืมมาเพื่อประโยชน์ของผู้คนโดยทั่วไป มีการแก้ไขให้มีความสั้นกระชับ และเพิ่มเติมชื่อเรียกอุปกรณ์ ขอบคุณครับ