รับเหมาเดินท่อดับเพลิงอาคาร ติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และทางหนีไฟ

ขายส่งอุปกรณ์ดับเพลิงภายในอาคาร ผู้นำเข้า เครื่องดับเพลิง FireAde2000 รับฝึกอบรมดับเพลิง

โทรด่วน สาขาเชียงใหม่ 081-208-8846(คุณพิษณุ), สาขาสมุทรปราการ โทร 086-921-5444(คุณดวงดาว)
ชั้นของไฟและการใช้เครื่องมือดับไฟ (Classification of fires and appropriate extinguishing agents)
ชั้นของไฟและการใช้เครื่องมือดับไฟ (Classification of fires and appropriate extinguishing agents)

ชั้นของไฟและการใช้เครื่องมือดับไฟ (Classification of fires and appropriate extinguishing agents)

การแบ่งประเภทของไฟ (Classification)  เมื่อได้ทราบถึงวิธีการดับเพลิง  โดยใช้วิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างนั้น ก็จำเป็นจะต้องทราบถึงประเภทของไฟให้ถ่องแท้เสียก่อน ทั้งนี้โดยพิจารณาการแยกประเภทจากสภาพความเป็นจริงหรือแบ่งตามลักษณะของวัตถุที่ติดไฟ วิธีการดับเพลิง ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติ และการลดความเสียหายโดยไม่จำเป็นลดลง ซึ่งจะได้แบ่งประเภทของไฟออกเป็น 4-ประเภท ดังนี้

ไฟประเภท ก. (Class A. Fire)

ลักษณะของไฟประเภท ก. (Class A.) เป็นของแข็ง ลุกไหม้ถึงแกนใน เมื่อไหม้หมดแล้วมีเถ้าถ่านเหลืออยู่ เถ้าถ่านที่ร้อนนี้ถ้ามีออกซิเจน(O2) เข้าไปเสริม มักจะติดไฟขึ้นไหม้ได้อีก เชื้อเพลิงของไฟประเภท ก. (Class A.) เป็นเชื้อเพลิงประเภทเดียวที่มีการเผาไหม้ 2 ระดับ

ระดับที่ 1 ระดับเปลวไฟ  (Flaming Combustion) เป็นช่วงแรกที่มีการเผาไหม้ให้เกิดเป็น ไอระเหย ปล่อยออกมาจากวัตถุเชื้อเพลิงเมื่อถูกความร้อนไปกระตุ้นจนเกิดเป็นไอ (ช่วง Oxidation) ลอยออกมาสัมผัสความร้อนลุกเป็นเปลวไฟ

ระดับที่ 2 ระดับลุกไหม้เต็มที่ (Glowing Combustion Deep-seat) ในระดับนี้เปลวเพลิงจะถูกควบคุมโดยไอระเหยของวัตถุเชื้อเพลิงที่ฟุ้งกระจายไปผสมกับออกซิเจนในอากาศ ซึ่งตอนนี้ออกซิเจนจะแทรกซึมเข้าไปถึงเนื้อในของวัตถุเชื้อเพลิงทำให้เกิดการลุกไหม้เผาวัตถุเชื้อเพลิงให้คลายไอออกมา ถ้าความร้อนลดน้อยลง (เปลวจะลดความสูงลง) หมายความว่าวัตถุเชื้อเพลิงมีอากาศเข้าไปเสริมลดลงให้เพียงพอที่จะทำให้วัตถุเชื้อเพลิงนั้นคลายไอออกมาได้อีกต่อไป

ตัวอย่างของวัตถุเชื้อเพลิงของไฟประเภท ก. (Class A)

·       ไม้ หรือวัสดุที่ผลิตจากไม้
·       ฝ้าย และสารที่ผลิตจากฝ้าย
·       ดินระเบิด
·       กระดาษ
·       ยางและสารที่ผลิตจากยาง

วิธีการดับไฟที่เกิดจากวัตถุเชื้อเพลิงประเภท ก.
 ส่วนมากจะใช้วิธีการลดอุณหภูมิ โดยลดอุณหภูมิของสิ่งที่ไหม้ไฟให้ต่ำกว่าจุดติดไฟของมัน มีวิธีการดำเนินการได้ ดังนี้

1.   ใช้ฝอยน้ำดับเปลวไฟ

2.   ใช้น้ำฉีดเป็นลำเพื่อทะลุทะลวงให้วัตถุเชื้อเพลิงกระจายออก เพื่อให้รวดเร็วในการดับ

3.     ใช้น้ำฉีดวัตถุที่กระจายให้เปียกโชก เพื่อป้องกันไฟคุการดับไฟโดยวิธีคลุมไฟใช้ไม่ได้ผลสำหรับไฟประเภท ก. เพราะเมื่อเกิดเพลิงไหม้ถึงแกนในยากที่จะคลุมได้ทั่วถึง


ไฟประเภท ข. (Class B.Fire)

ลักษณะของไฟประเภท ข. (Class B.)   คือเป็นของเหลวที่มีไอระเหยสามารถติดไฟได้ (Flammable Liquids) ลุกไหม้เฉพาะผิวหน้า เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น หรือจาระบี เมื่อลุกไหม้แล้วจะไม่มีเถ้าถ่านให้เห็น อันตรายจะมากขึ้นเมื่อบริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูงซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไอระเหยมากขึ้น และสามารถลุกติดไฟได้อีก ถ้าไอระเหยของเชื้อเพลิงได้รับความร้อน จนถึงอุณหภูมิติดไฟของเชื้อเพลิงนั้น (ไฟคุ)

ลักษณะการลุกไหม้ของ ของเหลวไวไฟ

1.     จุดวาบไฟ (Flash Point) คือ อุณหภูมิต่ำสุดที่ทำให้ของเหลวปล่อยไอระเหยออกมาปริมาณมากพอที่จะทำให้เกิดเปลวไฟ ซึ่งไอระเหยเหล่านี้จะไปรวมกับอากาศ สามารถลุกติดไฟได้เมื่อมีเปลวไฟ หรือประกายไฟส่วนมากจะเกิดกับเชื้อเพลิงเหลว ส่วนเชื้อเพลิงประเภทอื่นไม่ค่อยพบเห็น

2.     จุดไวไฟ (ติดไฟ) (Fire Point) คือ อุณหภูมิต่ำสุดที่ทำให้ไอระเหยของเชื้อเพลิงผสมกับอากาศนั้นเกิดลุกเป็นไฟไหม้ต่อเนื่องๆได้ โดยอาศัยเปลวไฟเป็นตัวจุด จุดติดไฟจะมีอุณหภูมิสูงกว่าจุดวาบไฟ

3.     อุณหภูมิลุกไหม้ (อุณหภูมิติดไฟ) (Ignition Temperature) คือ อุณหภูมิต่ำสุดที่ทำให้ไอระเหยของวัตถุเชื้อเพลิงผสมกับอากาศพร้อมที่จะติดไฟได้เลยโดยไม่ต้องอาศัยเปลวไฟ หรือประกายไฟจากภายนอกเป็นตัวจุดอุณหภูมิที่ทำให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นอยู่กับชนิดของของเหลวที่เป็นเชื้อเพลิง

4.     ช่วงการเกิดไฟหรือการระเบิด (Flammable or explosive range)    หมายถึงอัตราน้อยที่สุดจนถึงอัตรามากที่สุดของไอระเหยของของเหลวนั้นเข้าผสมกับอากาศซึ่งจะสามารถลุกไหม้หรือระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อนจนถึงจุดติดไฟ อัตรานี้โดยทั่วไปจะวัดค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น คาร์บอนไดซัลไฟด์ (Carbon disulfide) มีช่วงการระเบิด 1% ถึง 50 % หมายความว่าถ้าในอากาศมีคาร์บอน ไดซัลไฟด์ผสมอยู่เกิน 1 % แต่น้อยกว่า 50 % ณ อัตราส่วนผสมนี้ (ระหว่างอากาศกับคาร์บอน ไดซัลไฟด์) สามารถจะระเบิดหรือลุกไหม้ถ้ามีความร้อนเข้ามาสัมผัส

เชื้อเพลิงของไฟประเภท ข. (Class B.) มีจุวาบไฟต่ำกว่า 100 องศา ฟาเรนไฮด์ (37.8 องศาเซลเซียส) โดยมีความดันไอระเหยที่จุดวาบไฟน้อยกว่า 40 ปอนด์/ตรน.เบนซินที่ลุกไหม้จะให้ความร้อนสูงถึง 1500 องศาฟาเรนไฮด์ (816 องศาเซลเซียส) การดับไฟที่เกิดจากน้ำมันต้องใช้สารดับเพลิงที่สามารถทำให้วัตถุรอบๆ ที่ไหม้นั้นเย็นลงไปเรื่อยๆด้วย ไม่เช่นนั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจจะลุกไหม้ขึ้นอีกในลักษณะไฟคุ

ในการใช้คาร์บอนไดออกไซด์หรือไอน้ำดับไฟที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จะทำให้ออกซิเจนในบรรยากาศลดลงจาก 20.8 % เหลือ 14 % ซึ่งเป็นระดับที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (เบนซิน) ไม่สามารถลุกไหม้ได้

สารดับเพลิงที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพดีที่สุด ได้แก่ โฟม (Foam) ประเภท Aqueous Foam (AFFF) ซึ่งเป็นโฟมที่พัฒนาใหม่ล่าสุด แต่ถ้าไฟที่เกิดจาก ก๊าซมีเทน, เกอโซลีน, หรือ ก๊าซ LPG. ซึ่งเป็นสารที่มีสารอื่นเพิ่มเข้ามา ซึ่งจัดอยู่ในวัตถุเชื้อเพลิงประเภท ไฮโดรคาร์บอนที่มีO2 หรือ ไนโตรเจน N2 ตัวใดตัวหนึ่งผสมอยู่เนื้อสาร ซึ่งเป็นสารละลายในน้ำ (มีน้ำผสมอยู่) จะมีผลออกฤทธิ์ช้าสำหรับ AFFF Foam

หลักการทั่วไปหากหากเชื้อเพลิงมีสารละลายในน้ำผสมอยู่ 12 –15 % ต้องใช้โฟมประเภท ABC คลุมผิวหน้าเชื้อเพลิงเพื่อทำการดับไฟ

 

ข้อควรระวัง สำหรับการดับไฟประเภท ข. (Class B.)

1.     ห้ามใช้เป็นลำฉีดไปที่ผิวหน้าของเชื้อเพลิง เพราะจะทำให้ไฟแพร่กระจายจากการกระเด็นกระดอนของเชื้อเพลิง

2.     ใช้ ซีโอทู (CO2) คลุมไฟไว้ชั่วคราว ไฟอาจจะลุกไหม้ขึ้นมาอีกได้หากความร้อนที่สะสมเพิ่มขึ้นจนถึงจุดติดไฟ (ไฟคุ)

3.     ใช้ฟองโฟมไม่ได้ผลสำหรับไฟขนาดใหญ่ หรือวัตถุเชื้อเพลิงที่มีไอระเหยเร็ว

4.     ฟองโฟมเหมาะสำหรับวัตถุเชื้อเพลิงที่อยู่ในภาชนะหรือไฟขนาดเล็กหรือน้ำมันเชื้อ


ไฟประเภท ค. (Class C.Fire)

 ได้แก่ ไฟที่เกิดขึ้นกับเครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ สาเหตุของการเกิดไฟไหม้ 

เนื่องจาก
1.     ไฟฟ้าลัดวงจร
2.     ใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง
3.      การพันหรือต่อสายไฟไม่ถูกต้อง
4.     ใช้ฉนวนกันไฟบางเกินไปหรือไม่ได้ขนาด

ตัวอย่างของไฟประเภท ค. (Class C.)  ได้แก่ ไฟไหม้เครื่องวิทยุ แผงจ่ายไฟ , เครื่องไฟฟ้า, หม้อแปลงไฟ, ตู้แยกไฟฟ้าต่างๆเป็นต้น

วิธีการดับไฟที่เกิดกับไฟประเภท ค. สามารถทำการดับไฟได้โดยการกั้นออกซิเจน โดยการใช้สารดับเพลิงที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผงเคมีแห้ง , แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)


ข้อควรระวังในการดับไฟประเภท ค. (Class C.)

1.     ต้องตัดวงจรไฟฟ้าก่อนเสมอ

2.     จัดเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบระบบไฟฟ้า

3.     สวมรองเท้ายาง ถุงมือเพื่อป้องกันไฟฟ้า

4.     ห้ามใช้น้ำเป็นลำ ถ้าจำเป็นต้องใช้น้ำจะต้องใช้เป็นฝอย และควรฉีดระยะไกลกว่า 5


ไฟประเภท ง. หรือไฟพิเศษ (Class D.Fire)

เป็นไฟที่เกิดขึ้นจากโลหะติดไฟ (Combustible Metals) เชนแมกนีเซียม ไททาเนียม โซเดียม และอลูมิเนียม


ในการแบ่งไฟออกเป็นประเภทของ นั้น ผลแห่งการแบ่งตามลักษณะของวัตถุเชื้อเพลิงที่ติดไฟ เพื่อประโยชน์ในการหาเครื่องมือ-อุปกรณ์มาดับเพลิงที่เกิดจากไฟแต่ละประเภทได้ แต่วัตถุเชื้อเพลิงบางชนิดไม่สามารถจะหาหรือกำหนดเครื่องมือ-อุปกรณ์และวิธีการมาทำการดับเพลิงที่เกิดขึ้นได้โดยตรง วัตถุเชื้อเพลิงดังกล่าว ได้แก่

1.     ประเภทของแข็ง ได้แก่ แมกนีเซียม (Ng), เทอร์ไมท์ โซเดียม (Na), ฟอสฟอรัส (P), นาปาล์ม เป็นต้น

2.     ประเภทของเหลว ได้แก่ ออกซิเจนเหลว, น้ำมันเชื้อเพลิงไวไฟ, น้ำมันเชื้อเพลิงหนัก หรือน้ำมันหุงต้ม, น้ำมันไฮโดรลิคส์, สารละลาย ฯลฯ

3.     ประเภทก๊าซ ได้แก่ ออกซิเจน, ไฮโดรเจน, ก๊าซหุงต้ม (LPG.), ก๊าซอะเซททีลีน (C2H2) เป็นต้น

การดับไฟที่เกิดกับไฟประเภท ง. (Class D.)  
ไม่สามารถที่จะกำหนดวิธีการเฉพาะเจาะจงลงไปได้เหมือนกับไฟประเภทอื่นๆ การดับไฟจำเป็นจะต้องใช้เทคนิคพิเศษที่สามารถเลือกใช้เครื่องมือ-อุปกรณ์และวิธีการให้สอดคล้องกับประเภทของวัตถุเชื้อเพลิง การใช้สารดับเพลิงธรรมดาที่มีไว้ใช้กับไฟ Class อื่นๆ จะเป็นอันตรายจากการเกิดปฏิกิริยา ซึ่งจะทำให้เกิดการแตกตัว ระเบิด ก๊าซพิษ ได้สารที่พอจะใช้ระงับไฟในเบื้องต้น ได้แก่ ผงเคมี (Dry chemical) ถ้าการใช้เครื่องมือ-อุปกรณ์ในการดับไฟอื่นๆ ไม่ได้ผลหรือเกิดอันตราย ทรายแห้งสามารถนำมาดับไฟ Class D ได้อย่างปลอดภัย เพราะจะไม่เกิดปฏิกิริยา สามารถสกัดกั้นการระเหยคลายไอและสกัดกั้นออกซิเจน (O2) ไม่ให้เข้าไปเสริมให้การลุกไหม้ต่อเนื่องได้